เรื่องย่อของหนังเรื่องนี้มีอยู่ว่า นางเอก เด็กสาวที่อาศัยอยู่เพียงลำพัง เพราะอดีตบางอย่างของเธอทำให้ไม่มีใครในเมืองเลยที่อยากเข้าใกล้เธอ แต่แล้วคืนหนึ่งบางสิ่งจากฟากฟ้าก็พุ่งความสนใจมาที่เธอและออกไล่ล่าเธออย่างไม่ลดละ ซึ่งพอดัฟฟิลด์ที่ห่างหายไปนานกว่า 3 ปีกลับมาพร้อมหนังไซไฟระทึกขวัญมันจึงทำให้ดู น่าดึงดูดให้น่าดูหนังเรื่องนี้ไม่น้อยว่าเขาจะเล่าอะไร
ตัวหนังจะพาเราไปมองเรื่องราวผ่านสายตาของเด็กสาวชื่อ บรินน์ ที่อยู่ในบ้านเพียงลำพัง ก่อนที่เราจะเริ่มผิดสังเกตว่าเธอไม่มีปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนเลย หรือมองอีกมุมคนในชุมชนของเธอก็ไม่ยินดีที่จะทักทายกับเธอเช่นกัน นอกจากความประหลาดของตัวนางเอกที่ทำได้เพียงนั่งคุยกับหลุมฝังศพแม่ตัวเองและเขียนจดหมายถึงเพื่อนในวัยเด็กที่ชื่อ ม้อด ซึ่งไม่เคยปรากฏให้เราทราบว่าเธอเป็นใครเลย
ตัวหนังก็เริ่มใส่สัญญาณถึงความผิดปกตินอกตัวนางเอกมาเพิ่ม เมื่อเธอสังเกตเห็นสนามหญ้าหน้าบ้านเธอมีหญ้าตายเป็นรูปวงกลม และเมื่อภาพมุมสูงฉายไปรอบ ๆ เราก็จะพบว่ามีรอยวงกลมแปลก ๆ นี้อยู่ในหลายบ้านทั่วเมืองเลย
นี่คือความน่าดึงดูดประการต่อมา หากสังเกตที่เราได้ดูหนังมาถึงจุดเกริ่นเรื่องราวนี้ หนังเล่าด้วยภาษาภาพแทบทั้งหมด นั่นคือดัฟฟิลด์ตั้งใจเล่าหนังเรื่องนี้โดยแทบไม่มีบทสนทนาเกิดขึ้นเลย ทั้งเป็นความท้าทายในฐานะนักเล่าเรื่อง และยังเป็นเจตนาที่จะสะท้อนความไร้ปฏิสัมพันธ์กับผู้คนของนางเอกอย่างสิ้นเชิง ตอกย้ำไปที่ชื่อเรื่องอีกว่า ‘ไม่มีใครช่วยคุณได้หรอก’ นั้นไม่เกินเลยเลยสำหรับนางเอก
หนังทำให้เรานึกถึงหนังมนุษย์ต่างดาวที่ค่อย ๆ ใส่คำใบ้และบรรยากาศชวนเสียวสันหลังอย่าง ‘Signs’ (2002) ของ เอ็ม. ไนท์ ชยามาลาน (M. Night Shyamalan) ก่อนจะจู่โจมด้วยฉากการเล่นซ่อนหาระหว่างเด็กสาวกับสิ่งมีชีวิตที่ยากคาดเดาด้วยทักษะการตัดต่อที่มีชั้นเชิง ไม่โจ่งแจ้ง และค่อย ๆ ให้เราได้เห็นร่างกายทีละส่วนของบางอย่าง เพื่อเล่นกับจินตนาการของผู้ชมได้อย่าง น่าดึงดูด และกดดันให้เราลุ้นไปกับตัวละครจนอยากจะกลั้นหายใจช่วยไม่ให้มนุษย์ต่างดาวนั้นรู้ที่ซ่อนของนางเอกไปด้วยเลย ตรงนี้ทำให้นึกถึงงานอย่าง ‘A Quiet Place’ (2018) ในบางแง่มุมด้วยเช่นกัน
และโจทย์ของการที่ตัวละครไม่พูด หรือพูดอีกอย่างคือเปล่าประโยชน์ที่จะร้องขอความช่วยเหลือจากคนอื่น มันก็ยิ่งทำให้ปมปัญหาของนางเอกที่เป็นปริศนาสำหรับผู้ชมยิ่ง น่าดึงดูด ว่าเธอเคยทำอะไรมา โดยฉากก็ทำได้ดีมากคือเมื่อเธอพยายามไปขอความช่วยเหลือจากตำรวจนั่นเอง สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้เรายิ่งอยากรู้อดีตของเธอพอ ๆ กับว่าอะไรกำลังเกิดขึ้นในเมืองนี้เช่นกัน ซึ่งคงต้องยกความดีความชอบส่วนใหญ่ให้กับนักแสดงสาวเจ้าของรางวัลนักแสดงฮอลลีวูดรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองของสื่อหลายสำนัก อย่าง เคตลิน ดีเวอร์ (Kaitlyn Dever) ที่รับบทนางเอก ด้วยใบหน้าที่สะสวยและการแสดงที่สื่ออารมณ์โดยไม่ต้องใช้คำพูดที่ทำได้อย่างยอดเยี่ยม ว่ากันแล้วเธอเป็นตัวเลือกที่ลงตัวมาก ๆ ทีเดียว (ใครสนใจติดตามเธอต่อ ก็ขออนุญาตแบ่งปันไอจีกันตรงนี้เลย ที่kaitlyn dever ซึ่งเธอก็สวยจัดว่าดีเวอร์จริง ๆ)
สิ่งที่ชอบอีกอย่างจากการดูหนังคือความจงใจเชย ดีไซน์ของมนุษย์ต่างดาวแบบยอดนิยมที่เรียกว่า Grey Alien เป็นรูปลักษณ์ที่แม้อิงจากคำให้การผู้พบเห็นที่มากที่สุด แต่มันก็ไม่ได้ดึงดูดความสนใจคอหนังได้มากแล้ว เพราะถูกใช้ซ้ำเยอะมาก เราได้เห็นผิวสีเทาไร้ขน หัวโต ตาดำโต ตัวเล็กและแขนขายาวในสื่อนับครั้งไม่ถ้วน แต่ดัฟฟิลด์กับทีมก็ทำให้มันมีรายละเอียดบางอย่างที่ทำให้รู้สึกว่าแตกต่าง เริ่มจากนิ้วเท้าที่เคลื่อนไหวคล้ายนิ้วมือ และมีพลังจิตบังคับสิ่งของได้ นอกจากนี้การไล่ล่าที่ผสานพลังจากจานบินซึ่งฉายแสงตรึงการเคลื่อนไหวได้ก็ทำให้ความกดดันมันหนักหน่วงขึ้นอีก และที่สำคัญคือเอเลียนไม่ได้มีดีไซน์เดียว ตรงนี้ทำให้มันดู น่าดึงดูดขึ้นเมื่อเอเลียนตัวอื่น ๆ เริ่มปรากฏกายและทำให้การเอาชีวิตรอดต้องเปลี่ยนวิธีไปด้วย อันนี้ทำได้ดีมาก
จุดนี้ทำให้ระหว่างดูหนังก็ชวนคิดเหมือนกันว่าบางทีการนำเสนอผีเปรตของไทยในเชิงเอเลียนนี้ก็อาจทำให้เข้าถึงความเป็นสากลได้เหมือนกัน มันอยู่ที่วิธีคิดและการออกแบบจริง ๆ สิ่งที่น่าเสียดายสำหรับหนังเรื่องนี้ แม้โดยส่วนตัวจะค่อนข้างชอบคือ แม้หนังมันจะมีไอเดียที่ค่อนข้าง น่าดึงดูด แต่มันไม่ใช่หนังไซไฟระทึกขวัญแบบที่ผู้ชมทั่วไปจะคาดหวังได้ชม เพราะเช่นเดียวกับหนังก่อนหน้าของดัฟฟิลด์อย่าง ‘Spontaneous’ คือ เอเลียนหรือความห่างเหินต่อผู้คนของยรินน์เป็นหนึ่งอุปมาที่สำคัญของตัวละคร ที่จะต้องก้าวผ่านปมปัญหาในจิตใจไปให้ได้ มันทำให้ช่วงหลังของหนังที่เริ่มเฉลยปมอดีตไปพร้อมกับภาวะการไถ่บาปของตัวละครนั้นต้องใช้การตีความของผู้ชมพอสมควร โดยเฉพาะบทพูดประโยคเดียวที่เกิดขึ้นของนางเอก และท่าทีหลังจากนั้นของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวนางเอกที่ผู้ชมต้องประเมินเองว่าบทสรุปของเรื่องราวที่เกือบจะปลายเปิดนั้นคืออะไร แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่พอช่วยให้เรามองตอนจบได้ใกล้เคียงกับความตั้งใจของผู้กำกับก็คือ บทสัมภาษณ์ที่ดัฟฟิลด์ได้ให้คำใบ้ไว้ว่า ฉากจบของเรื่องนี้ไม่ใช่ภาพหลอนของนางเอก และธีมสำคัญของเรื่องนี้คือความสามารถของมนุษย์ในการที่จะเผชิญความเลวร้ายและก้าวต่อไปอีกครั้ง นั่นทำให้มองได้ว่าชื่อเรื่องที่ว่า ‘ไม่มีใครช่วยคุณได้หรอก’ นั้นอาจจะหมายถึงว่า ‘ปมในใจของเรา คนที่จะช่วยเราได้ก็มีแต่ตัวเราเองเท่านั้น’ ก็เป็นได้
Leave a Reply